วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

ภาพมหัศจรรย์

ภาพมหัศจรรย์

การแสดง

ผู้ปฏิบัติตามขั้นตอนตอนไปนี้

ชูกระดาษเปล่าซึ่งอาบด้วยสารละลายโพแทสเซียมไทโอไซยาเนตไว้ แต่ไม่บอกให้ผู้ชมทราบแล้วใช้พู่กันจุ่มลงไปในสารละลายอีกชนิดหนึ่งซึ่งผู้ชมไม่ทราบว่าคืออะไร จากนั้นวาดภาพด้วยพู่กันอันนี้ ผู้ชมจะเห็นภาพที่มีสีแปลกตา ซึ่งสีจะไม่เหมือนกับสารละลายที่ใช้เขียน

สังเกตสีของภาพ

ภาพที่เขียนจะเป้นสีแดงที่แปลกตา


เพราะอะไรจึงจัดเป็นเช่นนั้น

การแสดงชุดนี้เป็นการแสดงปฏิกิริยาเคมีระหว่างโพแทสเซียมไทโอไซยาเนต 9(Potassium thiocyanate) กับไอร์ออน(III)คลอไรด์ (lron (III)chloride) ซึ่งให้สีแดง ปฏิกิริยานี้ใช้ทดสอบFe3+

การเตรียมการแสดง เริ่มด้วยการนำกระดาษเปล่ามาทาด้วยสารละลายโพแทสเซียมไทโอไซยาเนต อาจใช้สำลีชุบสารละลายนำไปป้ายให้ทั่วแผ่นกระดาษแล้ววางทิ้งไว้ให้หมาดจากนั้นจึงใช้พู่กันจุ่มสารละลายไอร์ออนคลอไรด์ เขียนภาพลงไปบนกระดาษแผ่นนี้ จะปรากฏภาพสีแดงบนแผ่นกระดาษ

ใช้อะไรบ้างในการแสดง

* ไอร์ออน(III)คลอไรด์ (FeCl3) 5 g ผสมน้ำทีละน้อยๆ คนให้ละลายจนหมด
* โพแทสเซียมไทโอไซยาเนต 5 g ผสมน้ำทีละน้อยๆ คนให้ละลายจนหมด
* กระดาษเปล่าว
* พู่กัน

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

การทดลอง cern 1

ศิลปะเคมี

วันนี้เราจะนำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์เรื่องศิลปะเคมี

การแสดง

1.ใช้พู่กันจุ่มลงในสารละลายสีชมพู่ที่เตรียมไว้ แล้วเขียนภาพลงในกระดาษวาดเขียน ภาพจะเป็นสีชมพู
(อาจให้ผู้ชมออกมาเขียนภาพด้วยตนเอง)
2.ชูภาพให้ผู้ชมดูทันทีที่เขียนเสร็จ
3.ตืดโชว์ที่บอร์ด ทำให้ภาพแห้งโดยใช้พัดลมเป่า หรือใช้เครื่องเป่าผมเป่าจะช่วยให้แห้งเร็วขึ้น ให้ผู้ชมสังเกตที่ภาพว่าสีเหมือนเดิมหรือไม่
(สีของภาพเปลี่ยนแปลงหรือไม่อย่างไร)
4.เมื่อสีของภาพเปลี่ยนแล้ว ให้ใช้กระดาษทิชชูชุบน้ำพอหมาดๆ นำไปเตาะที่ภาพทีละส่วนให้ผู้ชมสังเกตต่อไป
สีของภาพเป็นสีอะไร

มีอะไรเกิดขึ้น
การแสดงชุดนี้เป็นการเขียนภาพด้วยสารละลายโคบอลต์ (II)คลอไรด์ซึ่งเป็นสีชมพู เมื่อระบายภาพด้วยพู่กันจะได้ภาพสีชมพู พอทำให้แห้งสีจะเปลี่ยนจากชมพูเป็นสีฟ้าเข้มสวยงามมาก และเมื่อทำให้ภาพนี้ชื้นโดยการใช้กระดาษทิชชูที่เป็นเปียกน้ำไปแตะที่ภาพ สีของภาพจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเข้มเป็นสีชมพู เมื่อวางทิ้งไว้สีจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้ม ทั้งนี้เนื่องจากโคบอลต์(II)คลอดไรด์ ซึ่งเป็นของแข็งจะเป็นสีน้ำเงิน แต่ถ้าถูกความชื้นหรืออยู่ในน้ำจะเป็นสีชมพูถ้าไล่น้ำออกไปจะเหลือแต่ตัวโคบอลต์ จึงกลับเป็นสีฟ้าเข้มอีก
สุดท้ายภาพจะเป็นสีฟ้าเข้ม ถ้าเราไม่ทำให้ภาพถูกความชื้นก้จะยังคงรักษาสีน้ำเงิน

เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น

การแสดงชุดนี้เป็นการเขียนภาพด้วยสารละลายโคบอลต์(II)คลอไรด์ เมื่อโคบอลต์(II)คลอไรด์ได้รับความชื้นหรืออยู่ในน้ำจะเป็นสีชมพู และเมื่อไล่น้ำออกจะเป็นสีฟ้าเข้ม ทั้งนี้เนื่องจากโคบอลต์(II)สามารถสร้างเตตระฮีดรัลคอมเพล็กซ์ (tetrahedral complex) ซึ่งจะเป็นสีน้ำเงิน และออกตะฮีดรัลคอมเพล็กซ์(octahedral complex)ซึ่งเป็นสีชมพู โดยจะมีโมเลกุลของ H2Oมาล้อมโคบอลต์ไว้ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสีจะเกี่ยวข้องกับโคบอลต์อิออน



ใช้อะไรบ้างในการแสดง

- กระดาษวาดเขียน
- กระดาษทิชชู หรือพู่กัน
- น้ำ
- สารละลายโคบอลค์(II)คลอดไรด์ (CoCl2)
( ใช้โคบอลต์ (II)คลอไรด์ 5g เติมน้ำลงไปทีละน้อยคนจนละลายหมด เก็บใส่ขวดไว้)

ข้อสังเกตเพิ่มเติม
1. การแสดงชุดนี้อาจทำให้ตื่นเต้นได้อีกแบบหนึ่ง คือ เขียนภาพมาให้เรียบร้อยก่อน โดยไม่ให้ผู้ชมเห็นในขณะที่เขียน ดังนั้นภาพที่นำมาแสดงตอนแรกจะเป็นสีฟ้าเข้ม เพราะโคบอลต์(II)คลอไรด์ที่ป้ายไว้แห้งแล้ว จากนั้นให้ผู้ชมขึ้นมาช่วยกันหายใจออกรดลงไปที่ภาพ จะเห็นว่าภาพสว่นที่ถูกลมหายใจจะเป็นสีชมพู ดังนั้นภาพจะสวยมากมีสีชมพูสลับกับสีฟ้าเข้ม ส่วนที่เป็นสีชมพู เพราได้รับความชื้นขณะที่ปล่อยลมหายใจออกมา
2.ปฏิบัตินี้เกี่ยวข้องกับความชื้น ให้ผู้ชมนำไปคิดและทดลองดูว่าจะใช้กระดาษโคบอลต์ (II)คลอไรด์ไปวัดความชื้นในอากาศได้ไหม ลองคิดดู
3.กระดาษที่เขียนภาพไว้แล้วนี้ สามารถเก็บไว้เล่นได้ตลอด

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

หลอดแก้ววิ่งได้

หลอดแก้ววิงได้

การแสดง

ผู้แสดงปฎบัติตามขั้นตอนตอไปนี้
1.ชูหลอดทอลองขนาดกลางทีใส่น้ำประมาณสามสวนสี่ขอหลอด
2.ใสหลอดทดลองเปลาวขนาดเล็กตามลงไป

ทายกันกอน
ถ้าคว่ำหลอดทั้งชุดนี้ลง คิดวาจะเกิดอะไรขึ้น
3.คว่ำหลอดทั้งชุดนี้ลง ใช้นิ้วดันปากหลอดเล็กเบาๆ

มีอะไรเกิดขึ้น
จะมีน้ำหยดออกมาเล็กน้อย ขณะเนยวกันหลอดเล้กจะเคลือนเข้าไปในหลดใหญ่จนมิด

เพราะอะไรจึงเป็นเชนนั้น

หลอดเล้กเคลื่อนเข้าไปในหลอดใหญได้ เพราะวามีรงดันของอากาศดันเขาไป และจะเห้นวาน้ำในหลอดใหญ่หยดออกมาทีละน้อย

ใช้อะไรบ้างในการแสดง
- หลอดทดลองขนาดเส้นผ่านศุนยืกลาง 1.5 cm ความยาว 14 cm ( หลอดขนาดกลาง)
- หลอดทดลองขนาดเส้นผ่านศูนยืกลาง 1.4cm ความยาว 10 Cm
- น้ำ

หมายเหตุ
ตอนที่คว่ำหลอด จะต้องใช้นิ้วดันหลอดเล้กเข้าไปเบาๆ ก่อนใช้มือประคองไว้เพื่อมิให้หลอดหลุดลงมาตก ในกรณีที่ผิดพลาด

การทดลองด้านความคิด

การทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิด (Thought Experiment) (มาจากคำ เยอรมัน ว่า Gedankenexperiment ซึ่งตั้งโดย ฮานส์ คริสเตียน เออร์สเตด) ในความหมายที่แพร่หลายที่สุดคือ การใช้แผนการที่จินตนาการขึ้นมาเพื่อช่วยเราเข้าใจวิถีทางที่สิ่งต่าง ๆ เป็นในความเป็นจริง ความเข้าใจได้มาจากปฏิกิริยาต่อสถานการณ์นั้น หลักการของการทดลองทางความคิด เป็น a priori มากกว่า เชิงประจักษ์ กล่าวคือ การทดลองทางความคิดไม่ได้มาจาก การสังเกต หรือ การทดลอง เชิงทางกายภาพแต่อย่างใด
การทดลองทางความคิดคือคำถามเชิง สมมติฐาน ที่วางรูปแแบบอย่างดีซึ่งให้เหตุผลจำพวก "จะเกิดอะไรถ้า?" (ดูที่ irrealis moods)
การทดลองทางความคิดถูกนำมาใช้ใน ปรัชญา, ฟิสิกส์, และสาขาอื่น ๆ มันถูกใช้ในการตั้งคำถามทางปรัชญาอย่างน้อยที่สุดตั้งแต่ยุคกรีก สมัยก่อน โสคราติส ในฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ นั้น การทดลองทางความคิดที่มีชื่อเริ่มจากคริสตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ตัวอย่างต่าง ๆ ก็ได้เริ่มพบมากตั้งแต่อย่างน้อยในยุคของ กาลิเลโอ

ผลทางทฤษฎีของการทดลองทางความคิด

ในเทอมของผลทางทฤษฎีแล้ว การทดลองความคิดนั้น:
•ท้าทาย (หรือแม้กระทั่งลบล้าง) ทฤษฎีที่มีมาก่อนซึ่งมักเกี่ยวข้องกับเครื่องมือที่รู้จักในชื่อ reductio ad absurdum,
•สนับสนุนทฤษฎีที่มีมาก่อน
•ตั้งทฤษฏีขึ้นใหม่ หรือ
•ลบล้างทฤษฎีที่มีมาก่อนและตั้งทฤษฎีใหม่พร้อม ๆ กันผ่านกระบวนการของการกีดกันร่วม



การประยุกต์ในเชิงปฏิบัติของการทดลองทางความคิด

การทดลองทางความคิดมักแนะนำมุมมองใหม่ที่น่าสนใจ สำคัญและมีค่า ที่มีต่อปริศนาและคำถามเก่า ๆ แม้ว่ามันอาจจะทำให้คำถามเก่าไม่สัมพันธ์กัน ยิ่งกว่านั้นมันยังอาจสร้างคำถามใหม่ ๆ ที่ไม่ง่ายที่จะตอบนัก
ในเทอมของการประยุกต์ในเชิงปฏิบัติ การทดลองทางความคิดถูกสร้างขึ้นโดยทั่วไปเพื่อ:
•ท้าทาย status quo ที่มีมาก่อน (ซึ่งรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การแก้ไข การให้ข้อมูลผิด ๆ (หรือ การเข้าใจผิด), ชี้ให้เห็นข้อบกเพร่องในข้อโต้แย้งที่ปรากฏ, เพื่อรักษา (ในระยะยาว) ข้อเท็จจริงที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นกลาง, และเพื่อลบล้างการยืนยันเฉพาะอย่างที่มีบางสิ่งยอมรับได้ ถูกห้าม ถูกรู้ ถูกเชื่อ เป็นไปได้ หรือจำเป็น)
•ขยายผล นอกเหนือ (หรือ แทรก ภายใน) ขอบเขตของข้อเท็จจริงที่ได้ตั้งขึ้นแล้ว
•ทำนาย และ พยากรณ์ อนาคตที่ไม่อาจรู้ได้หรือไม่อาจนิยามได้ (หรืออย่างอื่น)
•อธิบายอดีต
•retrodiction, postdiction และ postcasting ของอดีตที่ไม่อาจรู้ได้หรือไม่อาจนิยามได้ (หรืออย่างอื่น)
•เร่งการตัดสินใจ การเลือกตัวเลือกและแผนการ
•แก้ปัญหาและสร้างแนวคิด
•ย้ายปัญหาปัจจุบัน (ซึ่งมักไม่สามารถแก้ได้) ไปเป็นปัญหาอื่นที่มีประโยชน์และเป็นผลมากกว่า (กล่าวคือ ดูที่ functional fixedness)
•การเป็นสาเหตุของคุณลักษณะ, การขัดขวาง, การตำหนิ และความรับผิดชอบสำหรับผลลัพธ์หนึ่ง ๆ
•ประเมิน ความน่าตำหนิ และ ความเสียหายโดยเฉพาะ ในบริบทของสังคมและกฎหมาย
•ทำให้แน่ใจโดยการทำซ้ำความสำเร็จในอดีต หรือ
•ทำการเพิ่มเติมส่วนที่เหตุการณ์ในอดีตอาจเกิดขึ้นต่างออกไป
•ทำให้แน่ใจเพื่อหลีกเลียงความผิดพลาดในอดีต (ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต